เมนู

ศากยะสมาทานสิกขาในเวลาจะสินพระชนม์ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงว่า ได้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาสามในเวลาจะสิ้นพระชนม์.
จบอรรถกถาปฐมสรกานิสูตรที่ 4

5. ทุติยสรกานิสูตร



ผู้ถึงสรณคมน์ไม่ไปสู่วินิบาต



[1537] กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้น เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะ
มากด้วยกัน มาร่วมประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่า-
อัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่นี้
ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ
เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เจ้าสรกานิศากยะมิได้กระทำ
ให้บริบูรณ์ในสิกขา.
[1538] ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานพระวโรกาส เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพยากรณ์ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง
ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกัน มาร่วม

ประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า... เจ้าสรกานิศากยะมิได้
กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา.
[1539] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน จะพึงไปสู่
วินิบาตอย่างไรเล่า ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวอุบาสกนั้นว่า อุบาสก
ผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน เมื่อจะ
กล่าวให้ถูก พึงกล่าวเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะเป็นอุบาสกผู้ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน เจ้าสรกานิ
ศากยะนั้นจะพึงไป สู่วินิบาตอย่างไร.
[1540] ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่ง
แน่วแน่ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ ... มีปัญญาร่าเริง
เฉียบแหลม และประกอบด้วยวิมุตติ เขาย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.
[1541] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่ง
แน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีปัญญาร่าเริง
เฉียบแหลม แต่ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ 5
สิ้นไป เขาเป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขาร
ปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี บุคคลแม้นี้ก็พ้น
จากนรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.

[1542] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่ง
แน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญา
ร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์ 3 สิ้นไป
เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาได้เป็นพระสกทาคามี จักมาสู่โลก
นี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลแม้นี้ก็พ้นจาก
นรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[1543] ดูก่อนมหาบพิต ร บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่ง
แน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญา
ร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์ 3 สิ้นไป
เขาได้เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้
ในเบื้องหน้า บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก .... อบาย ทุคติ วินิบาต.
[1544] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เลื่อมใส
ยิ่งแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญา
ร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ธรรมทั้งหลาย
ที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมทนซึ่งการเพ่งด้วยปัญญาของเขา (ยิ่ง) กว่า
ประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย
ทุคติ วินิบาต.
[1545] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เลื่อมใสยิ่ง
แน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญา
ร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ
สตินทรีย์... ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอ
ประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก.. อบาย ทุคติ วินิบาต.

[1546] ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนนาที่ไม่ราบเรียบ มีพื้น
ไม่ดี ยังมิได้ก่นหลักตอออก และพืชเล่าก็แตกร้าว เสีย ถูกลมและแดดกระทบ
แล้วไม่แข็ง (ลีบ) เก็บไว้ไม่ดี ถึงฝนจะหลั่งสายน้ำลงมาเป็นอย่างดี พืชเหล่า
นั้นจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์บ้างไหม พระเจ้ามหานามศากยราชกราบ
ทูลว่าหามิได้พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนี้ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ในข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม
ที่กล่าวไม่ดี ประกาศไม่ดี ไม่เป็นนิยยานิกธรรม ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ
มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศ อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ในเพราะนาที่ไม่ราบ
เรียบและสาวกเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตาม
ธรรมในธรรมนั้น อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ในเพราะพืชที่ไม่ดี.
[1547] ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนนาที่ราบเรียบ มีพื้นดี
ก่นหลักตอออกหมดแล้ว และพืชเล่าก็ไม่แตกร้าว ไม่เสีย ลมและแดดมิได้
กระทบ แข็งแกร่ง เก็บไว้ดีแล้ว ฝนพึงหลั่งสายน้ำลงมาเป็นอย่างดี พืชเหล่า
นั้นจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์บ้างไหม.
ม. ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ในข้อนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ธรรมที่กล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นนิยยานิกธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ในเพราะนาที่ราบเรียบ
และสาวกเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม
ในธรรมนั้น อาตมาภาพกล่าวเรื่องนี้ในเพราะพืชที่ไม่ดี จะป่วยกล่าวไปไยถึง
เจ้าสรกานิศากยะ เจ้าสรกานิศากยะได้กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในเวลาจะสิ้น
พระชนม์.
จบทุติยสรกานิสูตรที่ 5

อรรถกถาทุติยสรกานิสูตร



พึงทราบอธิบายในทุติยสรกานิสูตรที่ 5.
บทว่า นาที่ไม่ราบเรียบ ได้แก่นาที่ไม่เสมอกัน. บทว่า มีพื้นไม่ดี
ได้แก่ มีพื้นกระด้าง ประกอบด้วยความเค็ม. บทว่า แตกร้าว ได้แก่ แตก
ทั่วไป. บทว่า เสีย ได้แก่ ชุ่มน้ำแล้วก็เปื่อยเน่า. บทว่า ถูกลมและแดด
กระทบแล้ว
ความว่า ถึงความไม่มีรส เพราะลมและแดดกระทบแล้ว บทว่า
ไม่แข็ง ได้แก่ ไม่ถือเอาแก่น คือยังไม่เกิดแก่น. บทว่า เก็บไว้ไม่ดี
ความว่า ใส่ไว้ในฉางเป็นต้นเก็บไว้ดีหามิได้. บทว่า เก็บไว้ดีแล้ว
ความว่า ไม่งอกตลอด 4 เดือนจากที่ ที่เก็บไว้.
จบอรรถกถาทุติยสรกานิสูตรที่ 5

2. ปฐมทุสีลยสูตร



จำแนกโสดาปัตติยังคะ 4 ด้วยอาการ 10



[1548] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคน
หนึ่งมาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ครั้นแล้วจงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขา
ขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่าง